ขั้นตอนการดำเนินการ
-
發布日期:
112-05-29
-
更新日期:
112-05-29
-
點閱人氣:
400
สวัสดิการกรณีตนเองเสียชีวิต
※ สามารถส่งเอกสารไปยังไปรษณีย์หรือเดินทางไปยังสำนักงานเพื่อยื่นเรื่อง
๑. ยื่นเรื่องขอรับเงินช่วยเหลืองานศพจะต้องเตรียมเอกสารดังนี้:
1.แบบฟอร์มสมัครสวัสดิการกรณีเสียชีวิตและใบเสร็จรับเงินสวัสดิการ
2.ใบรับรองมรณะ ใบรับรองชันสูตรศพของอัยการหรือคำตัดสินฎีกามรณะ
3.สำเนาทะเบียนบ้านทั้งครัวเรือนของผู้ถือประกันภัยคุ้มครองพร้อมวันที่เสียชีวิตและสำเนาทะเบียนบ้านปัจจุบันของผู้ยื่นเรื่องขอสวัสดิการ (โปรดอย่าละเว้นหมายเหตุ)
4.ใบเสร็จรับเงินหรือเอกสารประกอบค่าใช้จ่ายงานศพ หากผู้ที่ชำระค่าใช้จ่ายงานศพเป็นผู้รับเงินบำนาญผู้อยู่ในอุปการะหรือเงินสงเคราะห์ผู้อยู่ในอุปการะตามลำดับจะถูกแทนด้วยหนังสือรับรอง
๒. ผู้สมัครขอรับเงินสงเคราะห์ผู้อยู่ในอุปการะควรแสดงเอกสารหลักฐานดังต่อไปนี้
1. แบบฟอร์มสมัครสวัสดิการกรณีเสียชีวิตและใบเสร็จรับเงินสวัสดิการ
2.ใบรับรองมรณะ ใบรับรองชันสูตรศพของอัยการหรือคำตัดสินฎีกามรณะ
3.สำเนาทะเบียนบ้านทั้งครัวเรือนของผู้ถือประกันภัยคุ้มครองพร้อมวันที่เสียชีวิต หากผู้รับผลประโยชน์เป็นบุตรบุญธรรมให้ระบุวันที่จดทะเบียนเป็นบุตรบุญธรรม เมื่อผู้ที่ได้รับผลประโยชน์และผู้เสียชีวิตไม่ได้อยู่ในทะเบียนบ้านเดียวกันจะต้องแสดงทะเบียนบ้านของแต่ละบุคคล (โปรดอย่าละเว้นหมายเหตุ)
๓.ผู้สมัครขอรับเงินบำนาญผู้อยู่ในอุปการะจะต้องยื่นเอกสารดังต่อไปนี้:
๓.๑ แบบฟอร์มสมัครสวัสดิการกรณีเสียชีวิตและใบเสร็จรับเงินสวัสดิการ
๓.๒ ใบรับรองมรณะ ใบรับรองชันสูตรศพของอัยการหรือคำตัดสินฎีกามรณะ
๓.๓ หากผู้รับผลประโยชน์เป็นบุตรบุญธรรมให้ระบุวันที่รับจดทะเบียนรับบุตรบุญธรรมหรือถ้าหากผู้รับประโยชน์และผู้เสียชีวิตไม่อยู่ในทะเบียนบ้านเดียวกันควรส่งสำเนาทะเบียนบ้านพร้อมกัน เมื่อผู้รับผลประโยชน์เป็นคู่สมรสทะเบียนบ้านจะต้องมีวันที่แต่งงานระบุ (โปรดอย่าละเว้นหมายเหตุ)
๓.๔ เอกสารรับรองอื่นๆดังนี้ :
• ผู้ยื่นเรื่องที่มีคุณสมบัติ “กำลังอยู่ในการศึกษา” (บุตรหรือหลาน) : ควรแนบหลักฐานการเข้าศึกษาหรือใบเสร็จรับเงินค่าเล่าเรียนมาด้วย ใบรับรองโรงเรียนหรือใบเสร็จค่าเล่าเรียนจะต้องผ่านการตรวจสอบใบรับรองที่เกี่ยวข้องอีกครั้งก่อนสิ้นเดือนกันยายนของทุกปี ผู้ที่มีคุณสมบัติตามเงื่อนไขหลังจากตรวจสอบจะออกเงินบำนาญผู้อยู่ในอุปการะต่อไปและสิ้นสุดในสิ้นเดือนสิงหาคมในปีถัดไป
• ผู้ยื่นเรื่องที่มีคุณสมบัติ "ไม่สามารถหาเลี้ยงชีพ" : แนบคู่มือหรือหนังสือรับรองความทุพพลภาพขั้นรุนแรงขึ้นไปหรือหนังสือรับรองการกักขัง
• ผู้ยื่นเรื่องที่ "ได้รับการอุปการะจากผู้ถือประกันภัยคุ้มครอง" (หลานหรือพี่น้อง): ควรแนบเอกสารที่เกี่ยวข้องของการได้รับการอุปถัมภ์จากผู้ถือประกันภัยคุ้มครอง
๔.แบบฟอร์มคำร้องควรปิดผนึกโดยหน่วยงานประกันภัยยกเว้นกรณีต่อไปนี้ :
1.หน่วยงานประกันภัยเลิกกิจการ, ล้มละลาย, เพิกถอน, ยกเลิก, ประกาศล้มละลายหรือพฤติการณ์อื่นๆไม่สามารถลงตราประทับสามารถชี้แจงเหตุผลและยื่นเรื่องด้วยตนเองได้
2. ผู้ที่ยื่นเรื่องตามมาตรา 20 วรรค 1 ของระเบียบการประกันแรงงานจะต้องรับด้วยตนเอง
3.กรณีผู้ถือประกันภัยคุ้มครองเสียชีวิตในระหว่างรับสวัสดิการผู้พิการหรือสวัสดิการผู้สูงอายุหรือถ้าหากอายุประกันครบ 15 ปีและมีคุณสมบัติตรงตามเงื่อนไขการรับเงินบำนาญผู้สูงอายุแบบครั้งเดียวเสียชีวิตก่อนได้รับเงินทดแทน ผู้อยู่ในอุปการะสามารถเรียกร้องเงินบำนาญผู้อยู่ในอุปการะครึ่งหนึ่งได้ด้วยตนเอง
๕. กรณีที่ผู้ยื่นเรื่องเป็นชาวต่างชาติที่อาศัยอยู่ในประเทศควรแนบสำเนาใบอนุญาตเข้าพำนัก, หนังสือเดินทางหรือใบอนุญาตเข้า-ออก
๖. เอกสารการรับรองหรือเอกสารที่ออกในต่างประเทศรวมฉบับแปลภาษาจีน (ใบมรณะบัตรและใบรับรองความสัมพันธ์ในครอบครัวที่มีการระบุตัวตนเพียงพอ หากเป็นภาษาอังกฤษไม่จำเป็นต้องแนบ) พร้อมส่งไปยังสถาบันประจำการต่างประเทศเพื่อตรวจสอบหากฉบับแปลภาษาจีนไม่ได้รับการรับรองจะต้องได้รับการตรวจสอบจากศาลหรือทนายความแพ่ง
๗. เอกสารการรับรองหรือเอกสารที่ออกโดยจีนแผ่นดินใหญ่ต้องได้รับการรับรองจากสำนักงานรับรองเอกสารแผ่นดินใหญ่และรับรองโดยสถาบันเกี่ยวข้องที่เป็นที่ยอมรับโดยประเทศไต้หวัน(หมายเหตุ:มูลนิธิแลกเปลี่ยนช่องแคบ)
๘. กรณีผู้ยื่นขอสวัสดิการกรณีเสียชีวิตเป็นผู้เยาว์หรือบุคคลทุพพลภาพ จำเป็นต้องยื่นแบบคำขอเสียชีวิตและใบเสร็จรับเงินสวัสดิการพร้อมลายเซ็นต์และตราประทับของผู้ปกครองพร้อมแนบสำเนาทะเบียนบ้านของผู้ปกครอง (โปรดอย่าละเว้นหมายเหตุ)
๙. กรณีที่ผู้อยู่ในอุปการะของผู้ที่เสียชีวิตไม่มีทะเบียนบ้านในไต้หวันจะต้องส่งเอกสารระบุตัวตนและเอกสารรับรองที่เกี่ยวข้อง ยื่นเรื่องพร้อมแนบเอกสารระบุตัวตนและเอกสารรับรองที่เกี่ยวข้องอีกครั้งกับบริษัทประกันเพื่อตรวจสอบทุกปี หากเอกสารระบุตัวตนและเอกสารรับรองที่เกี่ยวข้องที่แนบมานั้นจัดทำขึ้นในต่างประเทศ ฮ่องกง มาเก๊า หรือจีนแผ่นดินใหญ่จะต้องรวมถึงฉบับแปลภาษาจีนและต้องผ่านขั้นตอนการตรวจสอบตามที่กำหนด
สวัสดิการกรณีครอบครัวเสียชีวิต
๑. หากผู้ถือประกันภัยคุ้มครองและผู้เสียชีวิตมีสัญชาติประเทศไต้หวัน โปรดไปยังสำนักงานทะเบียนบ้านเพื่อจดทะเบียนมรณะพร้อมเลือกสมัครวิธีใดวิธีหนึ่งจากสามวิธีต่อไปนี้ :
๑.๑ แจ้งยื่นเรื่องจากหน่วยงานทะเบียนบ้าน :
1.เมื่อผู้ถือประกันภัยคุ้มครองไปขอจดทะเบียนมรณะด้วยตนเองสามารถนำสำเนาสมุดบัญชีเงินฝากสถาบันการเงินในประเทศมาแจ้งยื่นเรื่องผ่านสำนักงานทะเบียนบ้าน
2.กรณีที่ผู้ถือประกันภัยคุ้มครองไม่สามารถไปจดทะเบียนมรณะด้วยตนเองจะต้องกรอกหนังสือมอบอำนาจและส่งให้ผู้ที่ได้รับมอบอำนาจยื่นเรื่องแทน
๑.๒ การสมัครด้วยบัตรรับรองบุคคลธรรมดา:
ผู้ถือประกันภัยคุ้มครองที่มีบัตรรับรองบุคคลธรรมดาสามารถสมัครออนไลน์ผ่านระบบ "ยื่นเรื่องและตรวจสอบส่วนบุคคลออนไลน์" บนเว็บไซต์ของสำนักงาน
๑.๓ การสมัครด้วยลายลักษณ์อักษร:
กรุณากรอกแบบฟอร์มยื่นขอสวัสดิการกรณีเสียชีวิตในครอบครัวและใบเสร็จรับเงินสวัสดิการ (ผู้ถือประกันภัยคุ้มครองที่ยื่นเรื่องได้ด้วยตนเอง ไม่จำเป็นต้องประทับตราหน่วยงานประกันภัย) พร้อมแนบสำเนาสมุดบัญชีเงินฝากสถาบันการเงินในประเทศของผู้ถือประกันภัยคุ้มครอง สามารถจัดส่งทางไปรษณีย์หรือส่งเข้ามายังสำนักงานด้วยตนเอง
๒. กรณีที่ผู้ถือประกันภัยคุ้มครองหรือผู้เสียชีวิตไม่ได้จดทะเบียนในประเทศไต้หวัน จะต้องเตรียมเอกสารดังต่อไปนี้เพิ่มเติมนอกเหนือจากแบบฟอร์มยื่นขอสวัสดิการกรณีเสียชีวิตในครอบครัวและใบเสร็จรับเงินสวัสดิการ:
๒.๑ สำเนาใบอนุญาตพำนักอาศัยที่ยังไม่หมดอายุ, หนังสือเดินทางหรือใบอนุญาตเข้า-ออก
๒.๒ ใบรับรองมรณะ ใบรับรองชันสูตรศพของอัยการหรือคำตัดสินฎีกามรณะ
๒.๓ หลักฐานความสัมพันธ์ในครอบครัว
๒.๔ หากผู้ถือประกันภัยคุ้มครองไม่สามารถมาไต้หวันเพื่อรับเงินได้ โปรดออกหนังสือมอบอำนาจดูแลผลประโยชน์ให้ยื่นเรื่องแทนพร้อมลายเซ็นต์และตราประทับของผู้ได้รับมอบอำนาจหรือตราประทับของหน่วยงานที่ได้รับมอบอำนาจพร้อมแนบสำเนาบัตรประจำตัวประชาชน หากต้องการส่งเงินเข้าบัญชีในต่างประเทศของผู้ถือประกันภัยคุ้มครองโปรดระบุชื่อภาษาอังกฤษของผู้ถือประกันภัยคุ้มครอง, ชื่อธนาคารและสาขาภาษาอังกฤษ, ที่อยู่ภาษาอังกฤษของธนาคารสาขาและ SWIFT CODE เป็นต้นหรือข้อมูลบัญชีต่างประเทศอื่นๆมาด้วยในหนังสือมอบอำนาจ
๒.๕ เอกสารที่แนบมาข้างต้นหากจัดทำขึ้นโดยหน่วยงานที่ไม่ใช่รัฐบาลไต้หวันควรตรวจสอบโดยหน่วยงานต่อไปนี้ ; หากเอกสารเป็นภาษาต่างประเทศจะต้องตรวจสอบพร้อมกับคำแปลภาษาจีนหรือรับรองโดยทนายความในประเทศ (ใบมรณะบัตรพร้อมหลักฐานความสัมพันธ์ในครอบคัรวที่เพียงพอ ภาษาอังกฤษไม่จำเป็นต้องแนบฉบับแปลภาษาจีน)
1.กรณีที่จัดทำขึ้นในต่างประเทศ เอกสารควรได้รับการตรวจสอบโดยสถานทูตกงสุล, สำนักงานตัวแทนหรือสำนักงานของประเทศไต้หวัน เอกสารที่จัดทำขึ้นในประเทศไต้หวันโดยสถานทูตกงสุลต่างประเทศหรือสถาบันที่ได้รับอนุญาตในไต้หวันควรได้รับการตรวจสอบอีกครั้งโดยกระทรวงการต่างประเทศ
2.กรณีที่เอกสารจัดทำขึ้นในพื้นที่แผ่นดินใหญ่ควรได้รับการรับรองจากสำนักงานรับรองเอกสารแผ่นดินใหญ่และตรวจสอบโดยมูลนิธิแลกเปลี่ยนช่องแคบประเทศไต้หวัน
3.กรณีที่เอกสารจัดทำขึ้นในฮ่องกงหรือมาเก๊าควรได้รับการตรวจสอบโดยสำนักงานเศรษฐกิจและวัฒนธรรมไทเปของประเทศไต้หวันในฮ่องกงหรือมาเก๊า
(ข้อมูลนี้มีไว้เพื่ออ้างอิงเท่านั้น จำเป็นต้องดำเนินการตามประกาศของหน่วยงานที่มีอำนาจ)