คำถาม4 : การคิดภาษีเงินเดือนของแรงงานต่างชาติ มีวิธีการคิดอย่างไรและควรจะจ่ายเงินภาษีอย่างไร?
-
發布日期:
113-12-19
-
更新日期:
113-12-20
-
點閱人氣:
43
ตอบ : เงินภาษีรายได้นั้น ให้คิดตามเงินเดือนแต่ละเดือนที่ได้รับในแต่ละเดือนดังสัญญาจ้าง โดยการคำนวณตามเงินเดือนที่ได้รับจริง ซึ่งมีสูตรการคิดดังนี้ คือ :
ยอดรายได้ในแต่ละเดือน x 12(เดือน) ÷ 365(หรือ 366 วัน) x วันที่พำนัก = เงินภาษีรายได้
ผู้พำนักไม่เต็ม 183 วันยอดรายได้ที่ควรชำระ = ยอดค่าแรงที่ได้ x จำนวนค่าแรงทีควรหัก (จำนวนค่าแรงทีควรหักเมื่อปี 2551 คือ 20% หลังปี 2552 คือ 6% )
ผู้พำนักเต็ม 183 วัน รายได้ที่ควรชำระ = ยอดค่าแรงที่ได้ – เงินภาษีที่ไม่ต้องหัก – เงินภาษีที่ต้องหัก = ยอดเงินสุทธิที่หัก แล้วหักตามเกณฑ์รายได้มากน้อยหากยอดเงินสุทธิที่ได้ < 0 ไม่ถึงเกณฑ์มาตรฐานการหักภาษี ก็ไม่ต้องจำเป็นต้องยื่นภาษี
(1) ยุวดีได้เดินทางเข้ามาในตำแหน่งงานพนักงานแม่บ้าน เงินเดือนที่ได้รับแต่ละเดือน 15,840 เหรียญ โดยเดินทางเข้ามาเมื่อวันที่ 1 พฤษภาคม 2557 รวมวันที่พำนักอยู่ในไต้หวันคือ 244 วัน:
เงินเดือนที่ได้รับ = 15,840 เหรียญ× 12 เดือน ÷ 365 วัน × 244 วัน = 127,067 เหรียญ
รายได้สุทธิ = 127,067 - เงินภาษีที่ไม่ต้องหัก 85,000 - ค่ามาตรฐานเงินภาษีที่ต้องหัก 79,000 - ยอดเงินรายได้ที่หัก 108,000 = -144,933 < 0 ไม่จำเป็รนต้องหักเงินภาษี
(2) ยุวดีได้เดินทางกลับประเทศเมื่อวัน 30 เมษายน 2558 โดยในปี 2558 รวมจำนวนวันที่พำนักในไต้หวันคือ 120 วัน :
เงินเดือนที่ได้รับ = 15,840 เหรียญ× 12 เดือน ÷ 365 วัน × 120 วัน = 62,492 เหรียญ
เงินรายได้ที่ควรหัก = 62,492 เหรียญ× 6 เปอร์เซ็นต์ = 3,749 เหรียญ